วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดาวน์โหลด ชุดอัพเดท J H C I S (29 มิย. 55)

เว็บบอร์ด: http://webboard.moph.go.th 
อีเมล์: jhcis@windowslive.com 
โทร: 084-4267237, 02-5901204, 02-5901209 
อ.สัมฤทธิ์ 081-8017543 อีเมล์: sumrit.hshf@gmail.com 
===============================================================================
***หากพบข้อความที่แจ้งเตือนว่า ไม่มี jre 1.7 กรุณาดำเนินการดังนี้***
1. ติดตั้งชุดอัพเดทนี้ก่อน
JHCIS-SERVER
http://app.moph.go.th/downloads/jhcis-s ... h-jre7.exe 
(JHCIS-SERVER + JRE7 Installation + folder jre7 อยู่ภายใต้ folder JHCIS กับ JHCIS ขนาดประมาณ 117MB)
JHCIS-CLIENT
http://app.moph.go.th/downloads/jhcis-c ... h-jre7.exe
(JHCIS-CLIENT + JRE7 Installation + folder jre7 อยู่ภายใต้ folder JHCIS ขนาดประมาณ 117MB)
2. แล้วจึงติดตั้งชุดอัพเดท Version 2.2.20120423.27 ด้านล่าง

===============================================================================
What's new in Version 2.2.20120429.35
===============================================================================

 jhcis-server-update-2.2.20120629.35.exe
jhcis-server 29 มิย.55
(58.14 MiB) ดาวน์โหลด 1433 ครั้ง

 jhcis-client-update-2.2.20120629.35.exe
jhcis-client 29 มิย.55
(58.14 MiB) ดาวน์โหลด 943 ครั้ง

----------------------------------------------------------------------------------------------------
ระบบบันทึกข้อมูล
----------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เพิ่มโอกาสการส่งออกข้อมูลในแฟ้ม ncdscreen ให้ได้มากขึ้น
-โดยผู้ที่ได้รับการคัดกรองที่ป่วยเรื้อรังในกลุ่มความดันสูง(01) หรือกลุ่มเบาหวาน(10) เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว หรือป่วยเรื้อรังในกลุ่มอื่น ที่มิใช่ 2 กลุ่มดังกล่าว จะยังส่งข้อมูลออกมาในแฟ้ม ncdscreen ได้
- แต่การบันทึกคัดกรอง HT/DM ในคนๆเดียวกันในปีเดียวกัน ที่มากกว่า 1 ครั้ง (ซึ่งสามารถทำได้ใน JHCIS) จะถูกส่งออกมาในรอบการส่ง นั้นๆ ด้วย ซึ่งอาจถูกตรวจให้เป็นการคัดกรองซ้ำและอาจถูกตัดแต้มได้ 
( สนย / สปสช กำหนดให้คัดกรองฯ ได้ 1 ครั้ง/คน/ปี) 
2. เปลี่ยนชื่อแฟ้มส่งออก 21 แฟ้ม เป็น F21_XXXXX_YYYYMMDDhhmmss.zip ตัวอย่าง เช่น F21_06654_20120423120159.zip
3. ปรับค่า PREGNANCY ในแฟ้ม death ให้เป็นไปตามที่ สนย กำหนดใหม่ คือ 1= เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ 2= เสียชีวิตระหว่างคลอดหรือหลังภายใน 42 วัน และ 9 = ไม่ทราบ(ผู้ชายให้ส่งค่า null ซึ่งใน Text File ของแฟ้ม death นั้นจะส่งเป็นค่า \N ออกมา (ยืนยันจาก สนย. (คุณโอ๋) 24 เมย. 55)) 
4. ปรับโครงสร้างฐานข้อมูลเพื่อรองรับการบันทึกข้อมูล ดังนี้
4.1 ปรับโครงสร้างฐานข้อมูล ตาราง studenthealthnutrition โดยเพิ่มฟิลด์ waist ( Decimal (5,1)) และปรับหน้าบันทึกข้อมูลอนามัยนักเรียน /ส่วนงาน(ปุ่มคำสั่ง) ตรวจโภชนาการ ให้บันทึกข้อมูลการตรวจรอบเอวนักเรียน(ลงในฟิลด์ ดังกล่าว) ได้
4.2 ปรับโครงสร้างฐานข้อมูล ตาราง visitscreenspecialdisease โดยเพิ่ม 2 ฟิลด์คือ 
Depressed ( Char(1) ) => 1: รู้สึกหดหู่ฯ , 2:ไม่รู้สึกฯ และฟิลด์
fedup ( Char(1) ) => 1: รู้สึกเบื่อฯ , 2:ไม่รู้สึกฯ 
เพื่อเก็บค่าคำถาม 2 Q สำหรับงานคัดกรองโรคซึมเศร้า (คำถาม 9 Q / 8 Q (ถ้ายังจะต้องใช้ในอนาคต) จะดำเนินการให้ในโอกาสต่อไป)
4.3 ปรับโครงสร้างฐานข้อมูล ตาราง user เพิ่อรองรับการส่งออก 43 แฟ้ม( provider) โดยเพิ่ม 3 ฟิลด์ ดังนี้
Usersex Char(1) => เพศ ของ จนท. (1:ชาย ,2:หญิง)
Userbirth Date => วันเดือนปีเกิด ของ จนท.
Dateworkhere =>วันที่มาปฏิบัตรงานที่สถานบริการนี้เป็นวันแรก
5. ในกรณีที่เป็น รพ สต. หรือ pcu ใหม่ที่ติดตั้งโปรแกรม JHCIS แล้วไม่มีฐานข้อมูล HCIS สำหรับแปลงขึ้นมาบนฐาน JHCIS (เป็นสถานบริการใหม่ ที่ไม่เคยใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลใดๆ มาก่อน)
โปรแกรมสามารถสั่งนำเข้ารหัสสถานบริการ (ประมาณ 15,000 รายการ) เข้าในฐานข้อมูล JHCIS เพื่อให้สามารถกำหนดเป็นค่าเริ่มต้นของสถานบริการที่ใช้งานโปรแกรม JHCIS ได้
(ทั้งนี้ต้องอาศัยไฟล์ chos.bat และ chos.sql ( อยู่ใน C:\Program Files\JHCIS\all_files_for_import\ หรือ C:\Program Files\JHCIS-Client\all_files_for_import\ )
โดยดำเนินการที่เมนู รหัสสถานบริการ /คลิ้กที่ปุ่ม นำเข้ารหัสสถานบริการ
6. บันทึกข้อมูลพิกัดบ้านได้สะดวกมากขึ้น (เดิมต้องค้นบ้านมาทีละ 1 หลังแล้วบันทึก) โดยไปที่เมนูบ้าน /เลือกหมู่บ้าน /คลิ้กที่ปุ่ม แสดงบ้าน–ชุมชน/เมื่อโปรแกรมฯ เปิด Dialog แสดงรายการบ้านแล้ว ให้คลิ้กที่ปุ่ม พิกัด GIS แล้วสามารถบันทึกค่าพิกัดฯ ได้ในคราวเดียวกันทุกบ้าน ดังกล่าว
7. ปรับช่องรายการ อาชีพ ในเมนูประชากร ให้บันทึกอาชีพได้สะดวกมากขึ้น โดยสามารถดับเบิ้ลคลิ้กฯ เพื่อเปิด Dialog ค้นหาอาชีพ (ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก) ทำให้การค้นหาและเลือกบันทึกทำได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
8. สามารถค้นหาชื่อผู้ได้รับบริการเรียบร้อยแล้ว ได้โดย เมื่อคลิ้กที่ปุ่มฯ แก้ไข /เมื่อโปรแกรมฯ เปิด Dialog แสดงรายชื่อผู้ที่ได้รับบริการเรียบร้อยแล้ว ให้คลิ้กขวา/คลิ้กซ้ายที่ ค้นหา
9. ปรับแก้ค่าการส่งออก 21 แฟ้ม ค่ารอบเอว ในแฟ้ม ncdscreen และ chronicfu โดยจะส่งออกเป็นเลขจำนวนเต็ม(หากค่าทศนิยมเกิน 0.5 จะปัดขึ้น +1) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาที่โปรแกรม provis (และอาจมีโปรแกรมอื่นๆ อีก ด้วย) ที่จะไม่รับค่าข้อมูลที่เกิน 3 หลัก (เช่น 65.7 etc.)
10. เพิ่มระบบตรวจสอบข้อมูล 21 แฟ้ม (10 แฟ้มที่ สปสช. ตรวจสอบฯ) ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจาก สปสช. เพื่อให้ผู้ใช้ฯ(สถานบริการ) สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล แล้วส่งออก 21 แฟ้ม (เฉพาะที่แก้ไขนี้) เพื่อส่งกลับไป สปสช. อีกครั้ง โดยไปที่เมนู รายงาน /คลิ้กที่ปุ่มคำสั่ง นำเข้า XML 10 แฟ้มที่ไม่ถูกต้อง (กระบวนการนี้ อยู่ระหว่างทดสอบฯ) 
11. เพิ่มการบันทึกข้อมูล การพบเลือดในปัสสาวะ ( ในตาราง visitlabsugarurine ในฟิลด์ bloodinurine ( 0:ไม่พบ 1:พบ )
12. เพิ่มรหัสวินิจฉัย ( Z-Code ) สำหรับวัคซีนเมื่อมีการบันทึกรับวัคซีนจากสูตร/ชุดวัคซีน
13. โปรแกรมฯ ไม่อนุญาตให้บันทึกการรับวัคซีน ในกรณีที่วัคซีนนั้น กำหนดรหัสไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานรหัสวัคซีนสำหรับ JHCIS (ตรวจสอบรหัสวัคซีน JHCIS ที่เมนูรหัสวัคซีน /คลิ้กที่ปุ่มฯ มาตรฐาน J ) …ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในข้อมูลหรือรายงานที่เกี่ยวกับการรับวัคซีน (ทุกสถานบริการฯ ต้องกำหนดรหัสวัคซีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน JHCIS มิฉะนั้นโปรแกรมฯ จะไม่สามารถประมวลผลรายงานเกี่ยวกับวัคซีนให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันได้)
14. มีระบบแจ้งเตือน เมื่อพบว่ามีผู้รับบริการแล้วถูกวินิจฉัย(visitdiag) ด้วยรหัสวินิจฉัยที่เป็นโรคเรื้อรัง แต่ยังไม่มีข้อมูลโรคเรื้อรังดังกล่าว อยู่ในประวัติโรคเรื้อรัง (personchronic) โดยแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อเข้าสู่โปรแกรมฯ (หากพบข้อมูลดังกล่าว )
15. ปรับโครงสร้างฐานข้อมูลในตารางบริการ(visit) โดยเพิ่มฟิลด์ moneynoclaim (Decimal) เพื่อบันทึกค่า จำนวนเงินที่สถานบริการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ ในกรณีที่การบริการบางรายการไม่สามารถใช้สิทธิเบิกได้แม้จะมีสิทธิฯ เช่น การจ่ายยานอก บ/ช ยาหลักแห่งชาติ ที่ผู้รับบริการประสงค์จะขอรับฯ หรือกรณีค่าใช้จ่ายในการบริการเกินสิทธิฯ ที่มีอยู่ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ให้บริการจะต้องบันทึกค่าดังกล่าวลงไปเอง หากเกิดมีกรณีบริการดังกล่าวนั้น โดยบันทึกได้ที่หน้าเมนูบริการ (คลิ้กที่ปุ่มฯ เงินที่ต้องจ่ายเอง(ส่วนที่ไม่สามารถใช้สิทธิเบิกได้)) …เพื่อส่งออกในแฟ้ม service สำหรับโครงสร้าง 43 แฟ้ม
16. บันทึกข้อมูลสถานะชีวิต เมื่อสิ้นสุดการรับบริการ (1:กลับบ้านได้(ไม่ตาย) 2:เสียชีวิตก่อนถึงสถานบริการนี้ 3:เสียชีวิตหลังจากถึงสถานบริการนี้ แล้ว) โดยคลิ้กฯ ที่ปุ่มฯ สถานะชีวิต เมื่อเสร็จสิ้นการบริการ (เพื่อส่งออกในแฟ้ม service) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงในตาราง visit . alivestatus
17. บันทึกข้อมูลจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเอง ในกรณีที่ไม่สามารถใช้สิทธิเบิกได้ หรือใช้สิทธิได้ไม่ทั้งหมด( เช่น การได้รับยานอก บ/ช ยาหลักแห่งชาติ /การรับบริการที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าสิทธิที่เบิกได้ เป็นต้น) โดยบันทึกได้ที่เมนูการจ่ายยาฯ ที่ช่องรายการ เบิกไม่ได้ (เพื่อส่งออกในแฟ้ม service) โดยบันทึกลงในตาราง visit . moneynoclaim
18. โปรแกรมฯ ส่งออกข้อมูลเลขบัตรประชาชนออกไปใน 15 แฟ้มต่อไปนี้ ได้แก่แฟ้ม anc ,appoint ,diag ,drug ,epi ,fp ,nutri ,proced ,service ,mch ,pp ,ncdscreen ,chronicfu ,labfu และ woman 
19. ปรับปรุงรหัสสิทธิจากเดิม 2 หลัก เป็น 4 หลักในตาราง cright และ person เท่าที่สามารถทำได้ ดังนี้
19.1 รหัส 71 – 99 และ 9A (UC มี ท.) ปรับเป็นรหัส 0100 (หลักประกันสุขภาพ)
19.2 รหัส 02,03(ประกันสังคม) ปรับเป็น 4200(กองทุนประกันสังคม)
19.3 รหัส 09 ()
19.4 รหัส 51 (ต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน) ปรับเป็น 8400 (บุคคลที่มีสิทธิต่างด้าว)
19.5 รหัส XX ,ZZ ,06 และ 52 (ไม่มีสิทธิฯ และต่างด้าวไม่ขึ้นทะเบียน) ปรับเป็น 9100
…สำหรับรหัสสิทธิ ที่เหลือ ผู้ใช้ฯ ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนเองผ่านเมนู รหัสสิทธิ(ลบรหัสสิทธิเดิม 2 หลักออกไป ถ้าสามารถทำได้ฯ ) และเมนู ประชากร เนื่องจากโปรแกรมฯ ไม่สามารถดำเนินการให้ได้เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจฯ เช่น สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
20. ปรับปรุงรหัสอาชีพจากเดิม 3 หลัก เป็น 4 หลักในตาราง coccupa และ person เท่าที่สามารถทำได้ ดังนี้
20.1 รหัส 000 และ 091 (ไม่มีอาชีพ) ปรับเป็นรหัส 9999 (ไม่มีงานทำ)
20.2 รหัส 001 (เกษตรกรรม) ปรับเป็น ????............????
20.3 รหัส 002 (รับจ้างฯ) ปรับเป็น ????............????
20.4 รหัส 003 (ค้าขาย) ปรับเป็น ????............????
20.5 รหัส 004 (รับราชการ) ปรับเป็น ????............????
20.6 รหัส 005 (รัฐวิสาหกิจ) ปรับเป็น ????............????
20.7 รหัส 006 (นักการเมือง) ปรับเป็น ????............????
20.8 รหัส 007 (ทหาร /ตำรวจ) ปรับเป็น ????............????
20.9 รหัส 008 (ประมง) ปรับเป็น ????............????
20.10 รหัส 009 (ครู) ปรับเป็น ????............????
20.11 รหัส 010 (อื่นๆ) ปรับเป็น ????............????
20.12 รหัส 012 (เลี้ยงสัตว์) ปรับเป็น ????............????
20.13 รหัส 013 (นักบวช) ปรับเป็น ????............????
20.14 รหัส 014 (งานบ้าน) ปรับเป็น ????............????
20.15 รหัส 015 (นักเรียน) ปรับเป็น 9000(นักเรียน /นักศึกษา)
…สำหรับรหัสอาชีพ ที่เหลือ ผู้ใช้ฯ ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนเองผ่านเมนู รหัสอาชีพ(ลบรหัสอาชีพ 3 เดิมออกไปถ้าสามารถทำได้ฯ) และเมนู ประชากร เนื่องจากโปรแกรมฯ ไม่สามารถดำเนินการให้ได้เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจฯ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ระบบรายงาน
----------------------------------------------------------------------------------------------------
1. รองรับ iReport ทั้งเวอร์ชั่น 2 และเวอร์ชั่น 4.5
2. แก้ปัญหา รายงานใบสั่งยา (DrugOrder.jasper) Error เดิมคือผู้ส่งเข้าคิวจะปรากฏเป็นผู้สั่งยาในใบสั่งยา (ถ้าหากผู้สั่งยาจริงที่เรียกคิวเข้ามารักษา สั่งจ่ายยา(บันทึกการจ่ายยาฯ) โดยไม่ได้แก้ไขข้อมูลบริการใดๆ ) 
3. สามารถพิมพ์ใบสั่งยา (DrugOrder.jasper) แบบที่ระบุรายการยา/อาหาร ที่ผู้ป่วยแพ้ ได้ (ประมวลผลรายงานที่เมนูบริการ /คลิ้กที่ปุ่ม ใบสั่งยา )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น